5. การเล่นดนตรีนมัสการ
ดนตรีที่เหมาะสำหรับการนมัสการ
ในพระคัมภีร์เดิมได้บันทึกถึงการใช้ดนตรีนมัสการ กษัตริย์ดาวิดใช้เครื่องดนตรีนมัสการ (1 พศด.23:5) ดาวิดตั้งบางคนรับผิดชอบเรื่องดนตรี (1 พศด.25:1) เครื่องดนตรีหลายประเภทได้ร้บการใช้ในการนมัสการ (สดด.33:1-3) มีทั้งเครื่องสาย เครื่องเป่า เครื่องเคาะจังหวะ ในขณะที่ในพระคัมภีร์ใหม่ไม่ได้เน้นถึงเครื่องดนตรีนมัสการแต่อย่างใดเลย จึงสรุปได้ว่า ในการนมัสการพระเจ้าจะใช้เพลง หรือดนตรีหรือไม่ก็ได้ ไม่ใช่สิ่งที่พระคัมภีร์สั่ง ในประวัติศาสตร์คริสตจักรยุคหนึ่งมีการระบุว่า ออร์แกนคือเครื่องดนตรีที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างบรรยากาศการนมัสการ ต่อมาก็มีการใช้เปียโนทดแทน จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย บ้างก็มีการใช้วงออร์เคสตร้าวงใหญ่ เคยมีบางแนวคิดที่กล่าวว่าเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองไม่เหมาะแก่การใช้เป็นดนตรีนมัสการ คริสตจักรสมัยใหม่ในช่วงหนึ่งเคยมีความขัดแย้งกันว่า เครื่องดนตรีที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น เช่น กีต้าร์ไฟฟัา หรือกลอง นั้นเหมาะสำหรับการนมัสการหรือไม่ แนวคิดที่ต่อต้านก็กล่าวว่าไม่เหมาะเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในบาร์ไม่เหมาะที่จะใช้ในโบสถ์ ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ล้มเลิกไปแล้ว ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับแล้วว่า เครื่องดนตรีอะไรก็สรรเสริญพระเจ้าได้ทั้งนั้น ไม่เพียงแต่เครื่องดนตรีเท่านั้น แต่เรื่องของแนวดนตรีก็เช่นกัน บางยุคสมัยถือว่าการ
นมัสการต้องใช้แนวดนตรีคลาสสิคเท่านั้น บางยุคสมัยมีการต่อต้านดนตรีร็อคแอนด์โรลไม่ให้ใช้ในการนมัสการ เพราะเห็นว่ารุนแรงและไม่สุภาพ แต่ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับแล้วว่า แนวดนตรีอะไรก็สรรเสริญพระเจ้าได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคลาลสิค ป็อบ แจ๊ช คันทรี่ ลูกทุ่ง ไทยเดิม หมอลำ ฯลฯ คริสตจักรสามารถเลือกใช้เครื่องดนตรีและแนวดนตรีได้ตามความเหมาะสมกับความถนัดและความชอบของที่ประชุมในคริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง นอกจากนี้ คริสตจักรสมัยใหม่หลายแห่งที่ไม่สามารถหานักดนตรีได้ เริ่มทดลองที่จะใช้ดนตรีนมัสการจากการเปิดซีดีเพลงคริลเตียน หรือใช้ดนตรีจากคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า MIDI (มิดี้) ข้อดีคือ ให้คุณภาพเสียงดนตรีที่ดี อุปกรณ์ราคาไม่แพงและหาได้ง่าย ใช้งานง่าย อีกทั้งไม่มีปัญหาเรื่องขาดนักดนตรี อาจมีข้อด้อยอยู่บ้างคือ ความไม่คุ้นเคย และไม่สามารถปรับเปลี่ยนดนตรีได้โดยทันทีตามความต้องการของผู้นำ แท้จริงแล้วดนตรีที่เหมาะสำหรับการนมัสการคือ ดนตรีที่สามารถโน้มนำจิตใจของผู้นมัสการให้ตระหนักถึงการทรงสถิตอยู่ของพระเจ้า และตอบสนองพระองค์ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง ฉะนั้น ดนตรีลีลาใดก็ตาม เครื่องดนตรีแบบใดก็ตาม การเล่นดนตรีอย่างไรก็ตามที่ตอบสนองจุดประสงค์นี้ได้ก็ถือว่าเป็นดนตรีนมัสการที่ดีทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเครื่องดนตรีทุกประเภทสามารถใช้นมัสการพระเจ้าได้ก็จริงอยู่ แต่ประสิทธิภาพในการโน้มนำจิตใจของผู้นมัสการนั้นไม่เท่ากัน เครื่องดนตรีบางประเภทมีประสิทธิภาพในการนำจิตใจของผู้นมัสการได้ดีกว่าบางประเภท เครื่องดนตรีบางประเภทสามารถใช้เพียงลำพังได้ดี เช่น เปียโน ออร์แกน เป็นต้น บางประเภทก็พอใช้ตามลำพังได้ เช่น กีตาร์ แต่บางประเภทต้องใช้ประกอบ กับเครื่องดนตรีประเภทอื่น ๆ จึงจะเหมาะสม เช่น กลอง เครื่องเป่า เป็นต้น
ลักษณะเลียงดนตรีที่เหมาะสมกับการนมัสการควรมีลักษณะดังนี้ คือ
1. สามารถใช้ประกอบการร้องเพลงของที่ประชุมได้ดี คือ (1) ช่วยอุ้มเลียงร้องของที่ประชุมได้อย่างหนักแน่น นั้นคือ สามารถให้เสียงประสาน (เสียงคอร์ด) ได้แน่น สามารถให้เสียงกลาง (เสียงคอร์ด) และเสียงทุ้ม (เสียงเบส) ได้ดี (2) ช่วยกำกับจังหวะในการร้องของที่ประชุมได้ดี (3) ให้ทำนองได้ดี เพื่อช่วยให้ที่ประชุมขึ้นต้นเพลงได้ และร้องตามทำนองนั้นคือ ควรให้เสียงสูงได้
2. สามารถใช้เล่นเป็นเสียงดนตรีบรรเลงได้ คือสามารถให้ทั้งทำนอง เสียงประสาน และจังหวะได้
จากที่กล่าวมา ดูเหมือนเครื่องดนตรีที่จะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้น่าจะมีดังนี้ คือ หากเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียว ที่เหมาะที่สุดคือ เปียโน ออร์แกน อีเลคโทน หรือคีย์บอร์ด จะสามารถใช้ประกอบการร้องเพลงและบรรเลงดนตรีได้อย่างดียิ่ง แต่จุดอ่อนคือ เครื่องราคาสูง และฝึกฝนเล่นได้ยาก
ต่อมาคือ กีตาร์ แม้ว่าพิสัยของเสียงจะไม่กว้างเท่ากับเปียโน และเสียงก็เบากว่า แต่ก็สามารถกำกับจังหวะได้ดีมาก ใช้เล่นคอร์ดก็สามารถอุ้มเสียงร้องของที่ประชุมได้ดีพอลมควร แต่จุดอ่อนคือ ให้ทำนองไม่ได้ ผู้นำนมัสการจะต้องสามารถจับเสียงให้ได้ จึงจะร้องได้อย่างถูกต้อง (อย่างไรก็ตามอาจแก้ปัญหานี้ได้โดยใช้กีต้าร์อีกหนึ่งตัว) แต่จุดที่เด่นคือ เครื่องราคาถูก และฝึกฝนเล่นได้ไม่ยาก
อาจใช้ทั้งเปียโนและกีต้าร์เล่นด้วยกัน นอกจากนี้แล้ว ยังอาจเพิ่มเติมเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ เข้าไปเพื่อเสริมให้เสียงดนตรีนมัสการดียิ่งขึ้น เช่น เพิ่มกีตาร์เบสเพื่อให้เสียงทุ้มต่ำ อันจะทำให้เสียงดนตรีมีความหนักแน่นขึ้น เพิ่มกลองเพื่อเสริมความหนักแน่นและกำกับจังหวะให้กระชับยิ่งขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดยังต้องกลับมาสู่ความจริงที่ว่าใจที่นมัสการสำคัญกว่าเครื่องดนตรีนมัสการ
คุณสมบัตินักดนตรีนมัสการ
นักดนตรีนมัสการคือ ผู้รับใช้ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับผู้นำนมัสการ เขาจึงควรมีคุณสมบัติอย่างผู้รับใช้เช่นเดียวกับผู้นำนมัสการ คือ (1) มีชีวิตที่เติบโตฝ่ายจิตวิญญาณ เป็นแบบอย่างและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น (2) มีความเข้าใจพระวจนะ (3) มีของประทานที่เหมาะกับงาน (ในที่นี้หมายถึงความสามารถ
ทางด้านดนตรีนมัสการ) (4) มีภาระใจและความรับผิดชอบต่อหน้าที่
การเตรียมตัวในการเล่นดนตรีนมัสการ
1. มีการซ้อมก่อน ทั้งกับผู้นำเพลงและกับนักดนตรีด้วยกันเอง ที่สำคัญคือ นักดนตรีต้องช่วยผู้นำเพลงนมัสการในเรื่องของดนตรี เนื่องจากไม่ใช่ผู้นำนมัสการทุกคนที่มีความสามารถทางด้านดนตรี อาจเสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้นำนมัสการ เช่น เสนอให้ลดคีย์ลง เร่งจังหวะเร็วขึ้น เป็นต้น
2. ต้องตั้งเสียงก่อนซ้อม และก่อนเริ่มการนมัสการล่วงหน้าอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง (หากมีการใช้ห้องประชุมลำหรับการเรียนพระคัมภีร์ ก็ต้องตั้งก่อนหน้านั้น)
3. ควรพยายามช่วยดูแลให้บนเวทีมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะอาด เครื่องเสียง หนังสือเพลงและอื่นๆ ต้องจัดวางอย่างเป็นระเบียบ สวยงาม
4. จุดที่นักดนตรียืนหรือนั่งเล่นอยู่นั้น ควรอยู่ในจุดที่เหมาะสมกับเวที หรืออาจไม่ต้องอยู่บนเวทีก็ได้
การเตรียมเพลงนมัสการ
1. เตรียมเนื้อเพลงพร้อมคอร์ดหรือโน้ตเพลงให้เรียบร้อย
2. ปรับคีย์ (Key) ของเพลงให้เหมาะกับระดับเสียงของที่ประชุมส่วนใหญ่ ไม่ควรต่ำหรือสูงเกินไป เพื่อจะทำให้ที่ประชุมสามารถร้องเพลงได้อย่างเต็มเสียง
3. ต้องเข้าใจว่า เพลงทุกเพลงสามารถเล่นได้หลายจังหวะและหลายลีลา (Styles) ควรเลือกจังหวะและแนวที่เหมาะสมกับเนื้อหาเพลง รสนิยมของที่ประชุม ระดับความสามารถของนักดนตรี และบรรยากาศของการประชุม แต่ที่สำคัญทีสุดคือ ต้องให้ที่ประชุมร้องได้อย่างไพเราะ
การปฏิบัติตัวในการเล่นดนตรีนมัสการ
1. ควรแต่งกายเรียบร้อย เป็นที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า (ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงานที่เราเล่น) ต้องอย่าลืมว่า นักดนตรีนมัสการต้องอยู่บนเวทีซึ่งเป็นที่จ้องมองของคนทั้งห้องประชุม ตนเองเป็นจุดเด่นของผู้คน ใครๆก็รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นนักดนตรีมักจะเป็นที่นิยมของอนุชนคนหนุ่ม
สาว ฉะนั้นต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างในทุกด้าน เพราะหากทำตัวไม่ดี พระเจ้าก็จะเสียพระเกียรติมาก และจะนำให้คนอื่นตามแบบอย่างที่ไม่ดีด้วย
2. ควรปรับระตับเสียงดนตรีให้เหมาะสมกับที่ประชุม ไม่ควรให้ดังเกินไป เพราะ (1) จะกลบเสียงร้องของผู้นำนมัสการ ทำให้ที่ประชุมร้องตามผู้นำนมัสการไม่ได้ (2) ทำให้ไม่ได้ยินเสียงของที่ประชุมสรรเสริญพระเจ้า (3) ทำให้ที่ประชุมเกิดความรำคาญและความตึงเครียด (4) เสียงที่ดังเกินไปจะเป็น
อันตรายต่อสุขภาพของผู้นมัสการบางคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคความดันและโรคหัวใจ ขณะเดียวกันก็อย่าเบาเกินไป มิฉะนั้นจะได้ยินไม่ชัด ร้องตามไม่สะดวก อีกทั้งเสียงดนตรีจะไม่สามารถอุ้มเสียงร้องของที่ประชุมได้อย่างเหมาะลม นอกจากนี้นักดนตรียังควรปรับเสียงให้สมดุล ทั้งเสียงระดับสูง กลาง และตํ่า และมีความนุ่มนวลไพเราะ เสียงทุ้มต่ำ และเสียงกลางจะให้ความหนักแน่น ส่วนเสียงแหลมเพื่อให้ความสดใสและแจ่มชัด อย่าให้เสียงแหลมเกินไปจนระคายหู และทุ้มเกินไปจนอู้ฟังไม่ชัดเจน
3. เมื่อจะเริ่มเล่นเพลงให้มีดนตรีนำ (Intro.) พอสมควร เพื่อให้ผู้นำเพลงและที่ประชุมขึ้นเสียงได้อย่างถูกต้อง
4. รักษาจังหวะการเล่นให้ถูกต้องและสมํ่าเสมอ ระวังอย่าให้จังหวะเร็วเกินไป จนที่ประชุมร้องไม่ทัน ไม่ควรช้าเกินไปจนขาดความไพเราะ และอย่าเล่นคร่อมจังหวะจนทำให้ที่ประชุมจับจังหวะไม่ถูก
5. พยายามเล่นคอร์ดที่ถูกต้อง อย่าให้เสียงเพี้ยน หรือคอร์ดเพี้ยน จะทำให้เสียความไพเราะและเสียบรรยากาศ
6. ขณะที่ที่ประชุมกำลังเข้าสู่การร้องเพลงนมัสการด้วยใจอธิษฐาน หรือการอธิษฐานอย่างอิสระ ดนตรีควรเล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้นำนมัสการจะให้สัญญาณเงียบลง ดนตรีไม่ควรหยุดเล่นในขณะที่ผู้นำเห็นว่ายังไม่ควรหยุด
7. ดนตรีควรลดเสียงลงอย่างช้าๆ เมื่อจะหยุดร้องเพลงด้วยใจอธิษฐานหรืออธิษฐานอย่างอิสระ อย่าเงียบหายทันที
8. จังหวะดนตรี ความดังความเบา ควรสอดคล้องกับบรรยากาศในเวลานั้น
9. เวลาจบเพลงไม่ควรจบแบบตัดเสียงลงห้วนๆ ควรมีการทอดเสียงไปอีกหน่อยหนึ่ง แล้วค่อยๆเบาเสียงดนตรีลงจนจบ หรือทอดจังหวะให้ช้าลงแล้วก็จบ
10. มีอากัปกริยาที่เหมาะสมบนเวที เพราะอยู่ต่อหน้าที่ประชุม พยายามอย่าคุยกันบนเวที ไม่ดึงความสนใจของที่ประชุมให้มาอยู่ที่เรา
11.ต้องตระหนักว่าการเล่นดนตรีนมัสการไมใช่การแสดงดนตรี (Concert) ที่เล่นโดยมุ่งเพื่อแสดงให้ผู้ชมประทับใจในความสามารถของเรา และเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟัง แต่การเล่นดนตรีนมัสการเป็นการเล่นเพื่อยกชูจิตใจของผู้นมัสการให้สามารถนมัสการพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น
12. ขณะที่ยังไม่ถึงเวลาเล่นไม่ควรทำให้เครื่องดนตรีเกิดเสียงแทรกขึ้นมา จะรบกวนสมาธิของที่ประชุมและผู้ที่กำลังกล่าวกับที่ประชุมอยู่
13. เมื่อหมดช่วงที่ต้องเล่น ควรเดินลงจากบนเวทีด้วยความสงบเรียบร้อย แล้วลงมานั่งในที่ประชุมหรือที่เฉพาะที่เตรียมไว้สำหรับนักดนตรี เพื่อเตรียมฟังคำเทศนา ไม่ควรหลบไปนั่งคุยกันเอง หรือไปนั่งนอกที่ประชุม ขณะเดียวกันก็เตรียมตัวให้พร้อมที่จะขึ้นมาเล่นดนตรีต่อได้ทันทีหากผู้นำหรือผู้เทศนา
ต้องการ
14. ถ้าเป็นได้นักดนตรีควรเอาพระคัมภีร์ขึ้นไปบนเวทีด้วย เพื่อในขณะที่ที่ประชุมอ่านพระคัมภีร์ นักดนตรีเองก็จะได้อ่านพระคัมภีร์พร้อมกับที่ประชุมด้วย จะได้ทั้งพระพรและยังเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับอนุชนคนอื่นๆ ด้วย
15. ขณะที่เล่นดนตรีนมัสการ นักดนตรีเองควรร้องเพลงและมีจิตใจที่นมัสการไปด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ที่ประชุม และเพื่อเราจะนมัสการพระเจ้าด้วย
การดูแลรักษาเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ต่าง ๆ
1. นักดนตรีต้องถือว่าตนเองมีความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องดูแลเครื่องดนตรี และอุปกรณ์เครื่องเสียงของคริสตจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นที่ตนเองใช้อยู่เสมอ
2. ต้องใช้อย่างทะนุถนอม เพราะเป็นทรัพย์สินของพระเจ้า
3. ต้องเก็บรักษาไวในที่ที่ปลอดภัย
4. มีการทำความละอาด และตรวจสอบสภาพการใช้งานอยู่เสมอ
สถานที่นมัสการ-การเตรียมสถานที่นมัสการ
สถานที่นมัสการเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ฟังลามารถรับฟังคำเทศนาได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้น คริสตจักรควรมีการจัดเตรียมสถานที่นมัสการดังนี้คือ
1. ควรดูแลสถานที่ให้สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็นอับ และแลดูเรียบร้อย ไม่ขัดสายตาผู้ที่มานมัสการ
2. มีการใช้อุปกรณ์ขยายเสียงอย่างเหมาะลม ที่จะช่วยให้ที่ประชุมได้ยินเสียงผู้เทศนาได้อย่างชัดเจนและทั่วถึง ขณะเดียวกัน ห้องประชุมควรออกแบบให้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงก้องหรือเสียงสะท้อน และหากมีปัญหาดังกล่าวแล้วก็ควรแก้ปัญหานี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการฟังของผู้นมัสการ
3. จัดรูปแบบของที่ประชุม โต๊ะ เก้าอี้ของผู้ฟัง ธรรมมาสน์ ฯลฯ ไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพราะจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ผู้ฟังจะมีสมาธิในการฟัง และตอบสนองพระวจนะได้ง่ายขึ้น
4. อุณหภูมิของห้องประชุมพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป อุณหภูมิที่พอเหมาะจะทำให้ผู้ฟังมีสมาธิในการฟังเทศน์ดีขึ้น
5. ไม่ควรมีอะไรคอยดึงความลนใจของผู้ฟังไปจากคำเทศนา เช่น เสียงจากภายนอกภายใน คนเดินไปเดินมา ฯลฯ
6. แสงบริเวณธรรมาสน์ควรสว่างเพียงพอที่ผู้เทศน์จะอ่านพระคัมภีร์และบทเทศนา และสว่างพอที่จะให้ที่ประชุมมองผู้เทศนาได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามไม่ควรมีแสงส่องเข้าหาสายตาของผู้ฟัง ที่จะทำให้ผู้ฟังแสบตา ไม่สามารถมองที่ผู้เทศนาได้นานๆ อีกทั้งจะทำให้ง่วงง่าย
7. ควรมีแสงเพียงพอที่จะให้ผู้นมัสการสามารถอ่านพระคัมภีร์ได้
บรรณานุกรม
Segler, Franklin M. Christian Worship: Its Theology and Practice. Nashville: Broadman Press, 1967
Tenney, Merrill c. The Zondervan Pictorial Encyclopydia of the Bible. Grand Rapids: Zondervan, 1982
Turner, J. Clyde. The Doctrine of the Church. Nashville: Broadman
Press, 1951
Webber, Robert E. Worship: Old&New. Grand Rapids: Zondervan,
1982
โรเบิร์ต สจ๊วต, เอกสารการสอนวิชาการนมัสการ, ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
คริลตจักรความหวังกรุงเทพ, เอกสารการสอนวิชาการนมัสการ, ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
คริสตจักรสามัคคีธรรมกรุงเทพ, เอกสารการสอนวิชาการนมัสการ, ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
ริค วอเรน, คริสตจักรที่เคลื่อนไปด้วยวัตถุประสงค์ กรุงเทพ : ซีอีดี, 2002.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น