4. การนำนมัสการ
การนำนมัสการเป็นงานพิเศษที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เช่นเดียวกับหน้าที่ของเลวีที่นำนมัสการในพระวิหาร ผู้นำนมัสการจึงมีบทบาทที่เต็มไปด้วยสิทธิพิเศษอย่างมาก เพราะพระเจ้าแสวงหาผู้นมัสการพระองค์ด้วยจิตวิญญาณและความจริง ดังนั้นผู้นำนมัสการที่พาคนไปสู่สิ่งนี้จึงเป็นคนสำคัญมากที่จะพาใจของคนของพระเจ้าไปอยู่ต่อพระพักตร์ของพระองค์ และเผชิญหน้ากับพระองค์
หน้าที่ของผู้นำนมัสการ
ผู้นำนมัสการมีหน้าที่เป็นผู้นำผู้ที่อยู่ในที่ประชุมให้เข้าเฝ้าพระเจ้า โดยเข้าสู่การทรงสถิตอยู่ของพระองค์ และเป็นผู้เตรียมใจของผู้ที่อยู่ในที่ประชุมที่จะรับฟังคำสอนจากพระวจนะ
คุณสมบัติของผู้นำนมัสการ
ก. คุณสมบ้ติทางชีวิต
1) ผู้นำนมัสการควรมีชีวิตที่เป็นแบบอย่างแก่ผู้นมัสการอื่น ๆ ในที่ประชุมได้
2) ผู้นำนมัสการต้องเป็นผู้ที่นมัสการพระเจ้าเป็นการส่วนตัวอยู่เสมอในชีวิต
3) ผู้นำนมัสการต้องมีลัมพันธภาพส่วนบุคคลที่ลึกซึ้งกับพระเจ้า และต้องมีจิต
วิญญาณที่เติบโต เข้มแข็ง
4) ผู้นำนมัสการต้องรู้จักพระเจ้าและพระวจนะของพระองค์อย่างดีพอ
5) ผู้นำนมัสการต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีท่าทีเป็นผู้รับใช้ มีระเบียบวินัย ในชีวิตตรงต่อเวลา
6) เป็นผู้มีความเข้าใจหลักเรื่องการนมัสการในพระคัมภีร์อย่างดี
7) ให้เกียรติและเชื่อฟังผู้นำคริสตจักร
8) ไมใช่คนที่รู้สึกท้อใจง่ายเมื่อถูกติ ถูกปรับปรุงแกไขการนำนมัสการ เป็นคนยอมรับการสอนได้
9) เป็นผู้ปรารถนาจะให้เกิดผลดีเลิศในการนมัสการ
ข. คุณสมบํติทางด้านเพลงและดนตรี
1) ผู้นำนมัสการไม่จำเป็นต้องรู้จักการเล่นดนตรีเสมอไป แต่ถ้ารู้ก็คงเป็นประโยชน์มาก
2) ผู้นำนมัสการต้องมีความสามารถร้องเพลงได้ รักษาทำนองได้โดยไม่ตกคีย์ และหากรู้ทฤษฎีดนตรีบ้างก็จะเป็นประโยชน์
3) ผู้นำนมัสการควรรู้จักเพลงทุกเพลงที่มีอยู่อย่างดี
4) ผู้นำนมัสการควรเป็นผู้มีใจขวนขวายหาเพลงใหม่ๆ (หรือแต่งเพลงใหม่) เพื่อนำมาใช้ในการนมัสการได้อย่างเพียงพอในทุกโอกาส ทั้งเพลงใหม่ยังจะช่วยให้ที่ประชุมได้นมัสการพระเจ้าโดยมีความรู้สึกใหม่สดเสมอ ไม่จำเจ
ค. คุณสมบัติอื่นๆ
1) ควรมีบุคลิกภาพเรียบร้อยและละอาด ทั้งด้านการแต่งกาย ทรงผม ฯลฯ
2) มีบุคลิกท่าทางในการยืน การเดิน ที่สง่างาม
3) มีทักษะในการพูดที่ชัดเจน เข้าใจง่าย น้ำเสียงชัดเจน
4) มีบุคลิกภาพที่เข้มแข็งมั่นคง น่าเชื่อถือ จริงจัง แต่ขณะเดียวกันก็มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
5) ควรเป็นผู้ที่มนุษยสัมพันธ์ดี เนื่องจากผู้นำนมัสการต้องทำงานร่วมกับบุคคลหลายฝ่าย เช่น ต้องประสานกับผู้เทศนา ต้องฝึกซ้อมกับคณะนักดนตรี และที่สำคัญคือ ต้องมีศิลปะในการนำมวลชนพอสมควร
การเตรียมรายการนมัสการ
1. ผู้นำนมัสการควรจะอธิษฐานในการเตรียมรายการที่จะนำนมัสการ เพื่อให้พระเจ้าทรงช่วยให้เราทราบว่าเราควรนำนมัสการไปในทิศทางใด
2. หากเป็นได้ผู้นำนมัสการควรจะประสานกับผู้เทศนา ว่าจะเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพื่อจะได้เลือกเพลงและข้อพระคัมภีร์ที่สอดคล้องกับคำเทศนา ซึ่งจะทำให้เนื้อหาของการนมัสการสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถทำได้ ก็ให้ผู้นำนมัสการกำหนดแนวทางด้วยตนเอง
3. ควรเริ่มช่วงแรกด้วยเพลงที่มีจังหวะค่อนข้างเร็วหรือกระชับ และดังพอประมาณ (ไมใช่ดังเกินไป) เพื่อปลุกที่ประชุมให้มีความกระตือรือร้นและชื่นชมยินดี แล้วต่อมาในบรรยากาศเพลงช้าลงและเบาลงเพื่อการสงบใจเตรียมรับพระวจนะ
4. เพลงช่วงแรกควรเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเน้นถึงการสรรเสริญพระเจ้า ในพระลักษณะและพระราชกิจต่างๆ ของพระองค์ เช่น สรรเสริญที่พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่ สรรเสริญที่พระองค์ทรงเลี้ยงดู สรรเสริญที่พระองค์ทรงไถ่เรา สรรเสริญที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ฯลฯ ต่อจากนั้นก็สามารถเป็นเพลงที่นำใจผู้
นมัสการให้ตอบสนองพระเจ้าในเรื่องต่างๆ เช่น เราขอขอบพระคุณพระองค์ เราขอสารภาพบาป เราจะเชื่อฟังพระองค์ เราขอถวายตัวแด่พระองค์ เราขอรับใช้พระองค์ ฯลฯ
5. อย่าให้เนื้อเพลงไม่สอดคล้องต่อเนื่องกัน หรือเนื้อเพลงกลับไปกลับมา เช่น เพลงสรรเสริญพระเจ้า ต่อด้วยเพลงสารภาพบาป แล้วกลับมาร้องเพลงสรรเสริญอีก
6. ควรเตรียมเพลงไว้เกินกว่าความจำเป็น เพื่อว่าหากเพลงใดรู้สึกว่าไม่เหมาะสมในวันนั้น เราจะได้เปลี่ยนไปสู่เพลงอื่นได้ทันที
7. ช่วงที่ต้องมีการพูด เช่น การกล่าวคำนำ การกล่าวต้อนรับ หรือ การกล่าวช่วงระหว่างเพลง ฯลฯ หากเป็นได้ควรเขียนเป็นบทพูดอย่างละเอียดว่าจะพูดอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการลืมหรือหลงประเด็น หรือแม้แต่การนำอธิษฐาน ก็ควรเขียนไว้ด้วยว่าจะอธิษฐานไปในทิศทางใดนมัสการ
8. ข้อพระคัมภีร์ที่อ่านประกอบการนมัสการควรเป็นตอนที่มีลักษณะหนุนการนมัสการ หากเลือกตอนที่ไม่ได้หนุนการนมัสการก็จะไม่ได้ประโยชน์ อีกทั้งยังจะทำให้ทิศทางการนมัสการเสียไปด้วย
9. ควรกำหนดเวลาว่ารายการแต่ละขั้นตอนนั้นใช้เวลาประมาณเท่าไร เพื่อจะสามารถใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม ไม่มากไปไม่น้อยเกินไป
10. ต้องมีการติดต่อประสานงานกับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบรายการนมัสการในวันนั้นอย่างชัดเจนล่วงหน้า เซ่น ผู้อธิษฐาน ผู้กล่าวต้อนรับ ผู้เดินถุงถวาย ฯลฯ เพื่อมิให้เกิดความขลุกขลัก
11.สำหรับการเป็นพยาน ผู้นำนมัสการไม่ควรเปิดโอกาสให้คนขึ้นมาเป็นพยานอย่างเสรี (นอกเสียจากว่าเป็นการนมัสการในกลุ่มย่อยเท่านั้น) เนื่องจากผู้กล่าวคำพยานอาจแบ่งปันอย่างไม่เหมาะสม อันจะทำให้บรรยากาศการนมัสการเสียไป ขอเสนอให้มีการสอบถามผู้ที่ประสงค์จะเป็นพยานก่อนเพื่อพิจารณาดูว่า เนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ และเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้เป็นพยานด้วย
ข้อพึงปฏิบัติก่อนการนมัสการ
1. ผู้นำนมัสการควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยและสะอาด เพื่อที่ตนเองจะสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้นมัสการอื่นๆ และแสดงถึงการให้เกียรติพระเจ้า
2. ควรจะอธิษฐานอย่างเต็มที่ก่อนมาคริสตจักร และก่อนที่จะเริ่มประชุมสัก 30 นาที เพื่อจิตใจของผู้นำนมัสการจะได้เต็มด้วยความยินดี และใกล้ชิดกับพระเจ้า พาใจของผู้ที่อยู่ในที่ประชุมไปสัมผัสพระเจ้าได้
3. เตรียมอุปกรณ์ในการนำนมัสการให้พร้อม ทั้งของตนเอง และผู้ที่มีส่วนช่วยในการนำ เช่น เขียนชื่อเพลงให้พร้อมสำหรับนักดนตรี เตรียมหนังสือเพลงสำหรับตนเองและที่ประชุมให้พร้อม และหากมีการใช้เครื่องฉายเนื้อเพลงก็ต้องเตรียมข้อมูลให้แก่ผู้ฉายด้วย
4. อย่าเข้าสู่การนมัสการขณะที่ยังไม่ได้รับการยกโทษบาป จงมีใจละอาดต่อพระเจ้า และเป็นคนที่บริสุทธิ์ (1 พศด.15:14; 2พศด. 29:14-15) หากมีบาปต้องสารภาพ
ข้อพึงปฏิบัติระหว่างการนมัสการ
1. ผู้นำนมัสการควรร้องเพลงนมัสการอย่างสุดจิตสุดใจขณะนำนมัสการ การบอกให้ที่ประชุมร้องเพลงแต่หน้าตา แววตา สีหน้าของตนไม่แสดงเช่นนั้น จะมีผลต่อที่ประชุมอย่างมาก
2. ผู้นำนมัสการอย่าใช้คำหยาบ คำไม่สุภาพในการกล่าวสิ่งใดเมื่อนำนมัสการ และควรใช้คำพูดในรสนิยมที่ดี
3. ผู้นำนมัสการต้องมีท่าทีที่แสดงถึงความยำเกรงพระเจ้า ท่าทีของผู้นำจะส่งผลให้ที่ประชุมรู้สึกยำเกรงพระเจ้าไปด้วย ท่าทีของผู้นำนมัสการจะกำหนดท่าทีของผู้นมัสการอื่นๆ
4. เมื่อกล่าวคำนำก่อนเริ่มการนมัสการ ควรสั้นกระชับและมีความหมายที่ดี
5. ผู้นำนมัสการควรร้องเพลงได้อย่างถูกต้องเพื่อจะสามารถเป็นต้นเสียงให้แก่ที่ประชุมได้ และหากจะร้องเพลงที่ต้องมีการเชื่อมต่อกันหลายเพลง ก็ควรรักษาการเชื่อมต่อของเพลงต่อเพลงโดยไม่ติดขัด
6. อย่านำเพลงใหม่ๆ มาร้องในช่วงต้นของการนมัสการ เพราะจะทำให้บรรยากาศการนมัสการเริ่มต้นโดยยากลำบาก เพลงใหม่ๆ ควรฝึกให้กลุ่มนักดนตรีและคณะนักร้องรู้จักเพลงเหล่านั้นอย่างดีเสียก่อน เมื่อนำมาใช้ในการนมัสการจะทำให้ผู้อื่นร้องตามได้ดีขึ้น หรืออาจฝึกให้ที่ประชุมหัดร้องก่อนเริ่ม
การนมัสการ ข้อพึงปฏิบัติในการฝึกเพลงใหม่คือ อย่างน้อยต้องมีคนราว 20 เปอร์เซ็นต์ของที่ประชุมร้องเพลงนั้นได้ และรับการฝึกมาก่อนแล้วจึงจะนำเพลงนั้นมาใช้ได้
7. ผู้นำนมัสการควรใช้มือในการให้จังหวะกับผู้ร้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่นักดนตรี เพื่อเสียงร้องกับเสียงดนตรีจะไม่ขัดจังหวะกัน
8. ผู้นำนมัสการควรพูดให้เข้าในไมโครโฟนให้เสียงดัง ฟังชัดเจนแก่ผู้ที่อยู่ในที่ประชุม
9. ผู้นำนมัสการควรร้องเพลงด้วยจังหวะแม่นยำ เพื่อเป็นเสียงนำที่ประชุม
10. หากจะร้องเพลงซํ้าอีกรอบหรือซ้ำท่อนใดท่อนหนึ่ง ผู้นำต้องกล่าวประโยคแรกของท่อนนั้นๆ ก่อนที่จะร้องจบประโยคสุดท้าย มิฉะนั้นจะทำให้ตะกุกตะกักและเสียบรรยากาศ
11. อย่าร้องเพลงเดียวนานและมากจนเกิดความเบื่อหน่ายต่อผู้ร้อง ผู้นำควรไวต่อความรู้สึก ใช้หลายๆ เพลงจะเหมาะสมกว่าใช้เพลงเดียวหลายเที่ยวเกินไป ในทางตรงข้าม หลายครั้งเรายังไม่ควรเปลี่ยนเพลงหากสัมผัสว่าพระวิญญาณยังนำและใช้เพลงนั้นแตะต้องใจของที่ประชุมอยู่
12. อย่าตะโกนเสียงแข็งแบบออกคำสั่งต่อที่ประชุม ควรใช้เลียงสุภาพ หรือจะใช้เสียงดังหรือเบาเพียงใดก็ให้เหมาะสมกับบรรยากาศนมัสการเวลานั้น
13. อย่าวางตัวเหนือที่ประชุม หรือแสดงอาการว่าตนเองมีจิตวิญญาณเหนือกว่าที่ประชุม ต้องมีท่าทีถ่อมตัวและให้เกียรติที่ประชุม
14. พยายามพูดแง่บวก อย่าพูดติที่ประชุมหรือกล่าวว่าที่ประชุมร้องไม่ได้เรื่อง หรือหน้าตาบูดบึ้ง เพราะจะทำให้ที่ประชุมซบเซาและไม่ค่อยตอบสนอง แต่ให้พูดหนุนใจในทางบวก เช่น แทนที่จะกล่าวว่า “ผมยังเห็นหน้าทุกคนเหมือนแบกปัญหาไว้ทั้งโลก” แต่ควรกล่าวว่า ผมเชื่อว่าทุกคนเตรียมใจมานมัสการ
ใช่ไหม ให้เรายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงความยินดีในพระเจ้าของเราด้วยกัน” ฯลฯ
15. อย่าพูดมากเกินไปในลักษณะออกเทศนาเมื่อแนะนำเพลง
16. อย่าให้ที่ประชุมยืนนานเกินไป เพราะอาจมีผลทำให้ไม่ค่อยนมัสการในตอนท้ายๆ เพราะร่างกายเริ่มเมื่อยล้า
17. ต้องประสานกับศิษยาภิบาลและผู้เทศนาในวันนั้น ผู้นำควรตระหนักว่า ผู้ที่ควบคุมการประชุมคือผู้นำฝ่ายวิญญาณของคริสตจักรนั่นคือศิษยาภิบาลหรือผู้ปกครองฝ่ายนมัสการที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้นำนมัสการไม่ควรนำตามใจตัวเอง ในขณะที่ผู้นำคริสตจักรเริ่มเห็นว่าผิดแนวพระวิญญาณแล้ว การนมัสการไม่ใช่เพียงแต่การแสดงแต่เป็นประสบการณ์ฝ่ายวิญญาณจิต สิทธิสุดท้ายอยู่ที่ผู้นำคริสตจักร อย่างไรก็ดี ผู้นำนมัสการควรมีอิสรภาพในการนำโดยไม่ต้องพะวงต่อศิษยาภิบาลมากเกินไป ขอให้มีใจกล้าและมั่นใจที่จะนำไป หากผิดพลาด ผู้นำคริสตจักรก็จะคอยแก้ไขให้เอง ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องพะวงว่า
ตนเองจะนำถูกหรือไม่
18. ในบางโอกาส ผู้นำคริสตจักรจะแจ้งให้ทราบว่าควรนำยาวหรือสั้นเพียงใดในการนมัสการวันนั้น
19. ควรหนุนใจที่ประชุมเป็นครั้งคราว โดยใช้สติปัญญาและวิจารณญาณ พยายามให้ทุกคนนมัสการ
20. อย่ากลัวความเงียบสงบ เพราะในบางขณะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนมัสการพร้อมกันเสร็จแล้ว ความสงบเงียบอาจเป็นเวลาที่พระเจ้าใช้พูดกับที่ประชุม
21. หากมีการเผยพระวจนะ จงตรวจสอบคำเผยพระวจนะกับผู้นำว่าควรมีการเชื่อฟังหรือไม่ เช่น คำเผยพระวจนะบอกให้ถวายตัว รักษาโรค อธิษฐาน เป็นต้น อย่าละเลยคำเผยพระวจนะ
22. หากไม่แน่ใจว่าควรจะทำอะไรดี หรือควรจะไปในทิศทางไหนดี ให้มองดูศิษยาภิบาล
23. ระวังความเหมาะสมและความเป็นระเบียบ (1 คร.14:40) อย่าให้มีความสับสนหรือมีท่าทีทางเนื้อหนัง ความมีระเบียบไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องทำอะไรเลยที่แตกต่างจากระบบที่วางไว้ แต่ต้องมีจุดมุ่งหมายให้เป็นที่เสริมสร้าง ไม่ใช่วุ่นวายโดยใช่เหตุ การชื่นชมในพระเจ้าทำให้เรานมัสการ
อย่างอิสระได้ แต่ต้องไม่แสดงออกแบบเนื้อหนังโดยไม่ใช่การถวายเกียรติแด่พระเจ้า
24. ผู้นำต้องมีท่าทีกระตือรือร้น หากเฉื่อยเนือย ที่ประชุมก็จะเฉื่อยเนือยตามไปด้วย นอกจากนี้ คริสตจักรสมัยใหม่ยังนิยมให้ผู้นำนมัสการเคลื่อนตัวไปยังจุดต่างๆ ของเวทีเพื่อให้รู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้น
25. หากมีการเป็นพยาน เมื่อผู้เป็นพยานกล่าวจบ ก็ให้ยํ้าจุดที่ดีออกมาจากคำพยาน เพื่อหนุนเนื่องต่อไปในการนำเพลงหลังการให้คำพยาน
26. เมื่อผู้เทศนาเทศจบ อย่าไปสรุปคำเทศนาของผู้เทศอีกรอบ อย่าไปเพิ่มเติมคำเทศนาอีก อย่างมากให้เพียงแต่กล่าวขอบคุณพระเจ้าเพียงสั้นๆ สำหรับพระวจนะที่เป็นพระพร แล้วก็ดำเนินรายการต่อไป
อนึ่ง แม้ว่าเราจะคาดหวังว่าผู้นำนมัสการควรจะมีระดับความเติบโตทางจิตวิญญาณและความสามารถที่สูง แต่ในการตั้งคริสตจักรใหม่ๆ ก็อาจยังหาบุคคลเช่นนั้นได้ยาก จึงเป็นเรื่องปกติที่คริสตจักรจะเริ่มจากใช้บุคคลากรเท่าที่มีอยู่ไปก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นไปเรื่อยๆ รวมทั้งพัฒนาสมาชิกให้
สามารถทำหน้าที่ผู้นำนมัสการและนักดนตรีนมัสการได้หลายคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น